วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความซื่อสัตย์

- ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง   :   ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด

ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ   :   เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล

หัวใจชายหนุ่ม 4ห้อง 2 กลุ่ม 1.wmv

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาคเรียนที่ 2 วิชา ท 31101 ภาษาไทย

ตัวชี้วัด
1. อ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรองได้ไพเราะถูกต้อง
2. ตีความ แปลความและขยายความได้
3. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านได้
4. ประเมินค่าเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล
6. ตอบคำถามเรื่องที่อ่านได้
7. มีมารยาทในการอ่าน
8. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้
9. เขียนเรียงความได้
10. เขียนย่อความได้
11. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูแแบบต่างๆได้
12. ประเมินผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองได้
13. เขียนรายงานเชิงวิชาการได้
14. บันทึกการค้นคว้า เพื่อพัฒนาตนเองได้
15. มีมารยาทในการเขียน
16. ประเมินเรื่องที่ฟัง และดูและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
17. มีวิจารณญาณเลือกเรื่องที่ฟังและดู
18. พูดในโอกาสต่างๆได้
19. มีมารยาทในการฟัง การดู การพูด
20.แต่งบทร้อยกรองได้
21. วิเคาระห์อิทธิพลภาษาต่างประเทศและภาษาอื่นได้
22. อธิบายและวิเคาราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
23. วิเคราะห์แลประเมินการใช้ภาษาในสื่อต่างๆได้
24 วิเคราะห์และวิจารร์วรรณคดีในวรรณกรรมได้
25. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดี เชื่อมโยงความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้
26. ประเมินค่าวรรณศิลป์ วรรณคดี วรรณกรรมได้
27. สังเคราะห์ข้อคิด วรรณคดีและวรรณกรรมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
28. ท่องอาขยานที่มีคุณค่าได้